เป้าหมาย (understanding Goal):

เป้าหมาย : เพื่อให้นักเรียนสามารถใช้ภาษาไทยเพื่อเรียนรู้ ข้อมูล เรียนรู้การลงมือปฏิบัติเรียนรู้ตัวเองและเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้
การจัดการเรียนรู้โดยใช้วรรณกรรม: เพื่อให้นักเรียนเรียนรู้การใช้ภาษาจริงจากการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลแวดล้อม และ การเรียนรู้ผ่านวรรณกรรม เป็นการจำลองชีวิตจริง มีความงดงามทั้งวิถีชีวิตและการใช้ทักษะทางภาษา อีกทั้งจรรโลงใจให้ใคร่ครวญ

Week5

หน่วยการเรียนรู้ : ลูกอีสาน
เป้าหมายรายสัปดาห์ : สามารถคาดเดาหรือคาดคะเนเหตุการณ์ได้อย่างมีเหตุผล อ่านจับใจความสำคัญและถ่ายทอดด้วยการเล่า เขียน บันทึก ให้คนอื่นรับทราบได้ รวมทั้ง เข้าใจและสามารถอธิบายความหมายของสำนวนสุภาษิตและ คำพังเพย ได้รวมทั้งสามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้มีนิสัยรัก การอ่าน มีมารยาทในการ ฟัง พูด และเขียนที่ดี


Week

Input

Process

Output

Outcome

- ๑๑
 ก..
๒๕๕๘
โจทย์ :
ลูกอีสาน ตอน บ่าวสาวเกี้ยวกัน
สาระการเรียนรู้
สำนวน สุภาษิต คำพังเพย

Key  Questions
- ขนบประเพณีที่คนอีสานยึดถือเกี่ยวกับความรักของหนุ่มสาวชาวอีสานในสมัยก่อนกับปัจจุบันแตกต่างกันอย่างไร?
- สำนวน สุภาษิต คำพังเพยมีความสำคัญในชีวิตประจำวันของเราอย่างไร?



 เครื่องมือคิด
 Brainstorms :
ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้อ่านและฟัง
Show and Share : นำเสนอชิ้นงาน ภาพวาดประกอบเรื่องที่อ่าน
Round Rubin : การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นสิ่งที่ได้เรียนรู้จากกิจกรรมต่างๆ



สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
ลูกอีสาน ตอน บ่าวสาวเกี้ยวกัน
- บัตรคำสำนวนสุภาษิต คำพังเพย
- ห้องสมุด
- อินเทอร์เน็ต
อังคาร
ชง
นักเรียนอ่าน ลูกอีสาน ตอน บ่าวสาวเกี้ยวกัน
โดยอ่านเสียง (อ่านคนเดียว/อ่านต่อเนื่อง/อ่านพร้อมกัน)หรืออ่านในใจ
เชื่อม
ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง
จำ : เรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,ฉาก
เข้าใจ : สรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์: วิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละคร ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : สรุปเหตุการณ์เทียบเคียงกับชีวิตจริง
ประเมินค่า:การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
 สร้างสรรค์ : แต่งเรื่องใหม่  แต่งตอนจบใหม่ 
วาดภาพประกอบ  ฉาก การ์ตูน
ใช้
นักเรียนแต่ละคนสรุปความเข้าใจโดยการเขียนการ์ตูนช่อง
พุธ
ชง
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “จากเรื่องที่อ่าน นักเรียนคิดว่าพฤติกรรมของตัวละครตรงกับสำนวนสุภาษิต คำพังเพยใดบ้าง?
 เชื่อม
- นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น
ชง
นักเรียนเล่มเกมแสดงท่าทางจากสำนวนสุภาษิต คำพังเพยจากบัตรคำที่ครูแจกให้
    เข็นครกขึ้นภูเขา
     เขียนเสือให้วัวกลัว
     น้ำมาปลากินมด น้ำลดมดกินปลา
    จับปลาสองมือ ฯลฯ
เชื่อม
- นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำกิจกรรม
- นักเรียนแต่ละคนศึกษาเกี่ยวกับเรื่องสำนวนสุภาษิต คำพังเพยเพิ่มเติมในรูปแบบ Mind Mapping
พฤหัสบดี
เชื่อม
- นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องสำนวนสุภาษิต คำพังเพยที่ศึกษา
ชง
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “สำนวน สุภาษิต คำพังเพยมีความสำคัญในชีวิตประจำวันของเราอย่างไร?
เชื่อม
 นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น
ใช้
แบ่งกลุ่มนักเรียนเลือกคำสำนวนสุภาษิต คำพังเพย มากลุ่มละ  ๕ สำนวน แล้วให้แต่ละกลุ่มช่วยกันแปลความหมายของสำนวนนั้นๆมาเรียบเรียงและสร้างเป็นละคร ๑ เรื่อง ผ่านงานตัดต่อVDO
ภาระงาน
- การพูดอธิบายลักษณะของตัวละคร   แสดงความคิดเห็นและตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
-  การบอกข้อคิดจากเรื่องที่อ่านได้ และสามารถนำข้อคิดไปประยุกต์
ใช้ในชีวิตประจำวันได้
- การสรุปความเข้าใจเรื่องที่อ่านโดยเขียนการ์ตูนช่อง
- การศึกษาเกี่ยวกับเรื่องสำนวน สุภาษิต คำพังเพย
- การเล่มเกมแสดงท่าทางจากสำนวนสุภาษิต คำพังเพยจากบัตรคำที่ครูแจกให้
- การแสดงละครและตัดต่อ VDO เกี่ยวกับสำนวนสุภาษิต คำพังเพย
ชิ้นงาน
- การ์ตูนช่องสรุปความเข้าใจเรื่องลูกอีสาน ตอน บ่าวสาวเกี้ยวกัน
- สมุดบันทึกเล่มเล็ก
- Mind Mapping สรุปเรื่องสำนวนสุภาษิต คำพังเพย
- VDO แสดงละครประกอบสำนวนสุภาษิต คำพังเพย
ความรู้ :เข้าใจและสามารถอธิบายความหมายของสำนวนสุภาษิตและ คำพังเพย ได้รวมทั้งสามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
การเลือกใช้เครื่องมือในการการคิดวิเคราะห์ข้อมูล สร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
ทักษะการคิด
การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับชีวิตประจำวันของตนเองได้ รวมทั้งคิดสร้างสรรค์ชิ้นงานที่แสดงถึงความเข้าใจของตนเองได้
 ทักษะการสื่อสาร
อธิบายเกี่ยวกับสำนวน สุภาษิต คำพังเพยและสามารถใช้สำนวน สุภาษิต คำพังเพยในการเขียนและสร้างคำ สร้างประโยคตรงตามวัตถุประสงค์                                              และอ่านจับใจความสำคัญเรื่องที่อ่านแล้วถ่ายทอดด้วยการเล่า เขียน บันทึก ให้คนอื่นรับทราบได้
ทักษะการเรียนรู้
- การวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน
- สังเคราะห์ข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่ตนเองรับรู้ได้
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น








1 ความคิดเห็น:

  1. เพื่อให้พี่ๆมีความเข้าใจและเห็นภาพเกี่ยวกับวรรณกรรมเรื่องลูกอีสานมากขึ้น คุณครูจึงให้ดูหนังเรื่องลูกอีสาน พี่ๆสนใจและตั้งใจดูมาก ขณะที่ดูคุณครูก็จะได้ยินเสียงคุยกันว่าถึงตอนนี้แล้ว คนนั้นชื่อนั้น คนนั้นอยู่ไหน ข้าวมตอนที่อ่านไป ซึ่งก็แสดงว่าพี่ๆให้ความสนใจมากค่ะ บางคนว่าสนุกดี แต่ในหนังสือละเอียดกว่า เมื่อดูหนังจบเราก็มาคุยกันเกี่ยวกับสิ่งที่เห็น สิ่งที่ได้เรียนรู้ รวมทั้งพฤติกรรมของตัวละครที่เห็นจากหนังด้วยว่าเป็นอย่างไรค่ะ
    คาบต่อมาครูให้พี่ๆเล่มเกมแสดงท่าทางจากสำนวนสุภาษิต คำพังเพยจากบัตรคำที่ครูแจกให้
    เข็นครกขึ้นภูเขา
    เขียนเสือให้วัวกลัว
    น้ำมาปลากินมด น้ำลดมดกินปลา
    จับปลาสองมือ ฯลฯ
    จากนั้นร่วมสนทนาเกี่ยวกับสำนวนสุภาษิตที่ตนเองรู้จัก แล้วให้จับคู่ศึกษาเรื่องสำนวน สุภาษิตและคำพังเพยค่ะ เพื่อนำมาพูดนำเสนอในสัปดาห์อีกครั้ง

    ตอบลบ