เป้าหมาย (understanding Goal):

เป้าหมาย : เพื่อให้นักเรียนสามารถใช้ภาษาไทยเพื่อเรียนรู้ ข้อมูล เรียนรู้การลงมือปฏิบัติเรียนรู้ตัวเองและเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้
การจัดการเรียนรู้โดยใช้วรรณกรรม: เพื่อให้นักเรียนเรียนรู้การใช้ภาษาจริงจากการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลแวดล้อม และ การเรียนรู้ผ่านวรรณกรรม เป็นการจำลองชีวิตจริง มีความงดงามทั้งวิถีชีวิตและการใช้ทักษะทางภาษา อีกทั้งจรรโลงใจให้ใคร่ครวญ

วันจันทร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

Main

กระบวนการจัดการเรียนรู้

ขอบเขตเนื้อหาสาระการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทย ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๘

ขอบข่ายเนื้อหาการเรียนรู้กลุ่มสาระภาษาไทย
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๒ Quarter 2 ปีการศึกษา ๒๕๕๘

ลูกอิสาน : คำพูน  บุญทวี  เรื่องราวการใช้ชีวิตอยู่ในถิ่นชนบทของอีสาน แถบที่จัดได้ว่าเป็นถิ่นที่แห้งแล้งแห่งหนึ่งของไทยชีวิตความเป็นอยู่  ขนบธรรมเนียม ประเพณี ตลอดจนความเชื่อของชาวอีสาน การเรียนรู้ที่จะอดทนเพื่อเอาชนะกับความยากแค้นตามธรรมชาติ ด้วยความมานะบากบั่น ความเอื้ออารีที่มีให้กันในหมู่คณะ ความเคารพในระบบอาวุโส โดยผ่าน ครอบครัวเด็กชายคูน ประกอบด้วยพ่อแม่ และลูก 3 คน และเพื่อนบ้านในละแวกนั้นไม่มีความแตกต่างกันนัก นั่นก็คือ ความจนข้นแค้นต้องหาอาหารตามธรรมชาติทุกอย่างที่กินได้ เมื่อความแห้งแล้งอย่างรุนแรงมาเยือน ครอบครัวเพื่อนบ้านก็เริ่มอพยพออกไป แต่ครอบครัวของเด็กชายคูน และกลุ่มที่สนิทชิดเชื้อกันยังคงอยู่ เพราะเขามีพ่อและแม่ที่เอาใจใส่ ขยันขันแข็งไม่ย่อท้อภัยและอุปสรรคต่างๆ ตลอดจนมองเห็นความสำคัญของการศึกษา แม้จะยากจนอย่างไร
ปลาทอง : เรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าเราจะยอมรับเรื่องราวนั้นหรือไม่ก็ตาม เรื่องราวนั้นก็ได้เกิดขึ้นมาแล้วและมากมายเกินกว่าที่จะรับฟังหรือจดจำได้หมด เรื่องราวทั้งหลายเป็นเพียงแค่ลมพัด ที่ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป

สัปดาห์ที่
วรรณกรรมเรื่อง /ตอน
ความเข้าใจ (แก่นวรรณกรรม)
หลักภาษา
เป้าหมายของการเรียนรู้หลักภาษา
1
ลูกอีสาน :หมู่บ้านเริ่มร้าง
ความแห้งแล้ง ทำให้เกิดการย้ายถิ่นเพื่อหาที่อยู่ใหม่ ทำให้หมู่บ้านเริ่มกลายเป็นหมู่บ้านร้างไม่มีคนอาศัยอยู่
โวหาร ภาพพจน์
( คำอุปมาอุปไมย   )
อธิบายหลักการใช้ โวหารและภาพพจน์( คำอุปมาอุปไมย  ) ในงานเขียน และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ 
2
ลูกอีสาน :หาอาหารหน้าแล้ง
การใช้ชีวิตของคนอีสาน  วิธีการหาอาหารของคนอีสานในหน้าแล้ง
โวหาร ภาพพจน์
(  อุปลักษณ์    )
อธิบายหลักการใช้ โวหารและภาพพจน์(  อุปลักษณ์    ) ในงานเขียน และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ 
3
ลูกอีสาน :ลาบปลาร้า
ลาบปลาร้าเป็นอาหารที่คนอีสานนิยมทำและเก็บไว้กินได้นาน

โวหาร ภาพพจน์
( คำสัญลักษณ์  )
อธิบายหลักการใช้ โวหารและภาพพจน์( คำสัญลักษณ์  ) ในงานเขียน และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ 
4
ลูกอีสาน :ญวนเข้ามาบุกจีนในถิ่นเรา
คนญวนชอบค้าขาย ขยันและผู้หญิงญวนต้องกินหมากให้ฟันดำจึงจะสวย
โวหาร ภาพพจน์
( นามนัย  )
อธิบายหลักการใช้ โวหารและภาพพจน์( นามนัย  ) ในงานเขียน และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ 
5
ลูกอีสาน :บ่าวสาวเกี้ยวกัน
การพูดจาเกี้ยวกันเป็นการแสดงออกถึงความรักอย่างหนึ่งของคนหนุ่มสาวอีสาน
สำนวน สุภาษิต คำพังเพย
เข้าใจและสามารถอธิบายความหมายของสำนวนสุภาษิตและ คำพังเพย ได้รวมทั้งสามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้
6
ลูกอีสาน :งานสงกรานต์
งานสงกรานต์ เป็นเทศกาลที่ครึกครื้น ไปกราบไหว้ญาติผู้ใหญ่ ทำบุญไหว้พระและมีการละเล่นของคนอีสานคือยิงสะบ้า
คำที่มักเขียนผิด
สามารถอธิบายลักษณะของคำที่มักเขียนผิด  รวมทั้งใช้คำและกลุ่มคำสร้างประโยคตรงตามวัตถุประสงค์งานที่ต้องการเขียนได้
7
ปลาทอง : 1,2
เวลา จะทำให้เราเข้าใจและมองเห็นสิ่งที่เป็นไปชัดเจนมากขึ้น เป็นไปตามธรรมชาติ ทุกสิ่งทุกอย่างมีเวลาของมัน มีเวลาเกิดมีเวลาสิ้นสุด
การแต่งเรื่องสั้น
เข้าใจและสามารถอธิบายหลักการแต่งเรื่องสั้น รวมทั้งสามารถผลิตงานเขียนเรื่องสั้นของตนเองได้
8
ปลาทอง : 3,4
9
สรุปองค์ความรู้



ปฏิทินการเรียนรู้รายสัปดาห์

Week

Input

Process

Output

Outcome


โจทย์ :
ลูกอีสาน
สาระการเรียนรู้
โวหาร ภาพพจน์
( คำอุปมาอุปไมย   )

เครื่องมือคิด
 Brainstorms
Show and Share
Round Rubin
Key  Questions



- ครูแนะนำหนังสือที่จะใช้ในสัปดาห์นี้
- นักเรียนเขียนคาดเดาเรื่องราวเกี่ยวกับหนังสือและการวาดภาพประกอบ
- นักเรียนอ่าน ลูกอีสาน ตอน หมู่บ้านเริ่มร้าง
 โดยอ่านเสียง (อ่านคนเดียว/อ่านต่อเนื่อง/อ่านพร้อมกัน)หรืออ่านในใจ
- ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง
- นักเรียนแต่ละคนสรุปความเข้าใจโดยการเขียนการ์ตูนช่อง
- นักเรียนอ่านและวิเคราะห์บทกลอน
- นักเรียนศึกษาเรื่องคำอุปมาอุปไมยและบันทึกลงในสมุดบันทึกเล่มเล็ก
- นักเรียนสร้างชิ้นงานที่แสดงถึงความเข้าใจเรื่องคำอุปมา
- นักเรียนทำใบงาน
ภาระงาน
- การพูดอธิบายลักษณะของตัวละคร   แสดงความคิดเห็นและตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
-  การบอกข้อคิดจากเรื่องที่อ่านได้ และสามารถนำข้อคิดไปประยุกต์
ใช้ในชีวิตประจำวันได้
- การสรุปความเข้าใจเรื่องที่อ่านโดยเขียนการ์ตูนช่อง
- การพูดและเขียนเพื่อบอกความรู้สึกของตนเองต่อตัวละครที่ชอบในเรื่องลูกอีสาน ตอน หมู่บ้านเริ่มร้าง
- การเขียนอธิบายความหมายของคำว่าดินดำน้ำชุ่ม ปลากุ่มบ้อนคือแข้แกว่งหาง
 - การวาดภาพประกอบบทกลอน

ความรู้ :สามารถวิเคราะห์และอธิบายหลักการใช้ โวหารและภาพพจน์( คำอุปมาอุปไมย  ) ในงานเขียน และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้  
ทักษะ :
- ทักษะชีวิต
- ทักษะการคิด
- ทักษะการสื่อสาร
 - ทักษะการเรียนรู้
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน
- สังเคราะห์ข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่ตนเองรับรู้ได้
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น



Week

Input

Process

Output

Outcome


โจทย์ :
ลูกอีสาน ตอน หาอาหารหน้าแล้ง
สาระการเรียนรู้
โวหาร ภาพพจน์
( อุปลักษณ์  )

เครื่องมือคิด
 Brainstorms
Show and Share
Round Rubin
Key  Questions



- นักเรียนอ่าน ลูกอีสาน ตอน หาอาหารหน้าแล้งโดยอ่านเสียง (อ่านคนเดียว/อ่านต่อเนื่อง/อ่านพร้อมกัน)หรืออ่านในใจ
- ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง
- ครูให้นักเรียนร่วมกันวิเคราะห์ประโยค( อุปลักษณ์  )
 - นักเรียนศึกษาเรื่องคำอุปลักษณ์เพิ่มเติมและบันทึกลงในสมุดบันทึกเล่มเล็ก
- ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความสำคัญของคำอุปลักษณ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
- นักเรียนทำใบงาน
ภาระงาน
- การพูดอธิบายลักษณะของตัวละคร   แสดงความคิดเห็นและตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
-  การบอกข้อคิดจากเรื่องที่อ่านได้ และสามารถนำข้อคิดไปประยุกต์
ใช้ในชีวิตประจำวันได้
- การสรุปความเข้าใจเรื่องที่อ่านโดยเขียนแผนภาพโครงเรื่อง
- การวิเคราะห์ประโยคต่อไปนี้
#ครูเป็นแม่พิมพ์ของชาติ
#ชาวนาคือกระดูกสันหลังของชาติ
#พ่อแม่คือร่มโพธิ์ร่มไทรของลูก
- การจับคู่ศึกษาเรื่องคำอุปลักษณ์
ชิ้นงาน
- แผนภาพโครงเรื่องสรุปความเข้าใจเรื่องลูกอีสาน ตอน หาอาหารหน้าแล้ง
- สมุดบันทึกเล่มเล็ก
- ใบงาน
ความรู้ :สามารถวิเคราะห์และอธิบายหลักการใช้ โวหารและภาพพจน์( คำอุปลักษณ์ ) ในงานเขียน และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้  
ทักษะ :
- ทักษะชีวิต
- ทักษะการคิด
- ทักษะการสื่อสาร
 - ทักษะการเรียนรู้
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน
- สังเคราะห์ข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่ตนเองรับรู้ได้
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น


Week

Input

Process

Output

Outcome

โจทย์ :
ลูกอีสาน ตอน ลาบปลาร้า
สาระการเรียนรู้
โวหาร ภาพพจน์
( คำสัญลักษณ์  )

เครื่องมือคิด
 Brainstorms
Show and Share
Round Rubin
Key  Questions



- นักเรียนอ่าน ลูกอีสาน ตอน ลาบปลาร้า
 โดยอ่านเสียง (อ่านคนเดียว/อ่านต่อเนื่อง/อ่านพร้อมกัน)หรืออ่านในใจ
- ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง
- นักเรียนแต่ละคนศึกษาเกี่ยวกับเรื่องโวหาร ภาพพจน์( คำสัญลักษณ์  )
- นักเรียนแต่ละคนร่วมกันแลกเปลี่ยนและนำเสนอข้อมูลที่ศึกษาเกี่ยวกับคำสัญลักษณ์
- นักเรียนทำใบงาน
ภาระงาน
- การพูดอธิบายลักษณะของตัวละคร   แสดงความคิดเห็นและตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
-  การบอกข้อคิดจากเรื่องที่อ่านได้ และสามารถนำข้อคิดไปประยุกต์
ใช้ในชีวิตประจำวันได้
- การสรุปความเข้าใจเรื่องที่อ่านโดยเขียนแผนภาพโครงเรื่อง
- การร่วมกันแสดงความคิดเห็นว่า หากได้ยินคำนี้แล้ว นักเรียนคิดถึงอะไร
ปลาร้า
สีขาว
ดอกหญ้า
รวงข้าว ฯลฯ
ชิ้นงาน
- แผนภาพโครงเรื่องสรุปความเข้าใจเรื่องลูกอีสาน ตอน ลาบปลาร้า
- สมุดบันทึกเล่มเล็ก
- ใบงาน
ความรู้ :สามารถวิเคราะห์และอธิบายหลักการใช้ โวหารและภาพพจน์(คำสัญลักษณ์  ) ในงานเขียน และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้  
ทักษะ :
- ทักษะชีวิต
- ทักษะการคิด
- ทักษะการสื่อสาร
 - ทักษะการเรียนรู้
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน
- สังเคราะห์ข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่ตนเองรับรู้ได้
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น


Week

Input

Process

Output

Outcome


โจทย์ :
ลูกอีสาน ตอน ญวนเข้ามาบุกจีนในถิ่นเรา
สาระการเรียนรู้
โวหาร ภาพพจน์
( นามนัย  )

เครื่องมือคิด
 Brainstorms
Show and Share
Round Rubin
Key  Questions

- นักเรียนอ่าน ลูกอีสาน ตอน ญวนเข้ามาบุกจีนในถิ่นเรา
โดยอ่านเสียง (อ่านคนเดียว/อ่านต่อเนื่อง/อ่านพร้อมกัน)หรืออ่านในใจ
- ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะใช้คำใดมาเปรียบเทียบที่บ่งบอกลักษณะหรือจุดเด่นของคนญวนชอบค้าขาย ขยันและผู้หญิงญวนต้องกินหมากให้ฟันดำจึงจะสวย?
- นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น
- นักเรียนแต่ละคนศึกษาเกี่ยวกับเรื่องโวหาร ภาพพจน์( คำนามนัย ) เพิ่มเติม
- นักเรียนทำใบงาน
ภาระงาน
- การพูดอธิบายลักษณะของตัวละคร   แสดงความคิดเห็นและตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
-  การบอกข้อคิดจากเรื่องที่อ่านได้ และสามารถนำข้อคิดไปประยุกต์
ใช้ในชีวิตประจำวันได้
- การสรุปความเข้าใจเรื่องที่อ่านโดยเขียนการ์ตูนช่อง
- การร่วมกันวิเคราะห์ประโยคที่เป็นคำนามนัย
 - การศึกษาเกี่ยวกับเรื่องโวหาร ภาพพจน์( คำนามนัย )
ชิ้นงาน
- แผนภาพโครงเรื่องสรุปความเข้าใจเรื่องลูกอีสาน ตอน ญวนเข้ามาบุกจีนในถิ่นเรา
- สมุดบันทึกเล่มเล็ก
- ใบงาน
ความรู้ :สามารถวิเคราะห์และอธิบายหลักการใช้ โวหารและภาพพจน์(นามนัย) ในงานเขียน และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้  
ทักษะ :
- ทักษะชีวิต
- ทักษะการคิด
- ทักษะการสื่อสาร
 - ทักษะการเรียนรู้
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน
- สังเคราะห์ข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่ตนเองรับรู้ได้
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น


Week

Input

Process

Output

Outcome


โจทย์ :
ลูกอีสาน ตอน บ่าวสาวเกี้ยวกัน
สาระการเรียนรู้
สำนวน สุภาษิต คำพังเพย

เครื่องมือคิด
 Brainstorms
Show and Share
Round Rubin
Key  Questions




- นักเรียนอ่าน ลูกอีสาน ตอน บ่าวสาวเกี้ยวกัน
โดยอ่านเสียง (อ่านคนเดียว/อ่านต่อเนื่อง/อ่านพร้อมกัน)หรืออ่านในใจ
- ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “จากเรื่องที่อ่าน นักเรียนคิดว่าพฤติกรรมของตัวละครตรงกับสำนวนสุภาษิต คำพังเพยใดบ้าง?
- นักเรียนแต่ละคนศึกษาเกี่ยวกับเรื่องสำนวนสุภาษิต คำพังเพยเพิ่มเติมในรูปแบบ Mind Mapping
- แบ่งกลุ่มนักเรียนเลือกคำสำนวนสุภาษิต คำพังเพย มากลุ่มละ  ๕ สำนวน แล้วให้แต่ละกลุ่มช่วยกันแปลความหมายของสำนวนนั้นๆมาเรียบเรียงและสร้างเป็นละคร ๑ เรื่อง ผ่านงานตัดต่อVDO

ภาระงาน
- การพูดอธิบายลักษณะของตัวละคร   แสดงความคิดเห็นและตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
-  การบอกข้อคิดจากเรื่องที่อ่านได้ และสามารถนำข้อคิดไปประยุกต์
ใช้ในชีวิตประจำวันได้
- การสรุปความเข้าใจเรื่องที่อ่านโดยเขียนการ์ตูนช่อง
- การศึกษาเกี่ยวกับเรื่องสำนวน สุภาษิต คำพังเพย
- การเล่มเกมแสดงท่าทางจากสำนวนสุภาษิต คำพังเพยจากบัตรคำที่ครูแจกให้
- การแสดงละครและตัดต่อ VDO เกี่ยวกับสำนวนสุภาษิต คำพังเพย
ชิ้นงาน
- การ์ตูนช่องสรุปความเข้าใจเรื่องลูกอีสาน ตอน บ่าวสาวเกี้ยวกัน
- สมุดบันทึกเล่มเล็ก
- Mind Mapping สรุปเรื่องสำนวนสุภาษิต คำพังเพย
- VDO แสดงละครประกอบสำนวนสุภาษิต คำพังเพย
ความรู้ :เข้าใจและสามารถอธิบายความหมายของสำนวนสุภาษิตและ คำพังเพย ได้รวมทั้งสามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้
ทักษะ :
- ทักษะชีวิต
- ทักษะการคิด
- ทักษะการสื่อสาร
 - ทักษะการเรียนรู้
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน
- สังเคราะห์ข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่ตนเองรับรู้ได้
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น


Week

Input

Process

Output

Outcome


โจทย์ :
ลูกอีสาน ตอน งานสงกรานต์
สาระการเรียนรู้
คำที่มักเขียนผิด

เครื่องมือคิด
 Brainstorms
Show and Share
Round Rubin
Key  Questions



- นักเรียนอ่าน ลูกอีสาน ตอน งานสงกรานต์
โดยอ่านเสียง (อ่านคนเดียว/อ่านต่อเนื่อง/อ่านพร้อมกัน)หรืออ่านในใจ
- ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “จากเรื่องที่อ่าน นักเรียนคิดว่ามีคำศัพท์ใดบ้างที่ตนเองมักเขียนผิด?
- นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นและเขียนคำที่มักเขียนผิดลงในสมุด
แบ่งกลุ่มนักเรียนทำใบงาน(แก้คำที่มักเขียนผิด)
- นักเรียนแต่ละคนเขียนบทความนำเสนอคำที่มักเขียนผิดและทำให้ผู้อื่นเข้าใจความสำคัญของคำต่างๆ หากสื่อสารผิดพลาดจะเป็นอย่างไร

ภาระงาน
- การพูดอธิบายลักษณะของตัวละคร   แสดงความคิดเห็นและตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
-  การบอกข้อคิดจากเรื่องที่อ่านได้ และสามารถนำข้อคิดไปประยุกต์
ใช้ในชีวิตประจำวันได้
- การสรุปความเข้าใจเรื่องที่อ่านโดยการวาดภาพประกอบ
- การแบ่งกลุ่มนักเรียนทำใบงาน(แก้คำที่มักเขียนผิด)
- การแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคำที่ตนเองมักเขียนผิด
 - การพูดนำเสนอบทความ
ชิ้นงาน
- ภาพประกอบ
สรุปความเข้าใจเรื่องลูกอีสาน ตอน งานสงกรานต์
- ใบงานคำที่มักเขียนผิด
- บทความการนำเสนอคำที่มักเขียนผิดและทำให้ผู้อื่นเข้าใจความสำคัญของคำต่างๆ หากสื่อสารผิดพลาดจะเป็นอย่างไร
ความรู้ :สามารถอธิบายลักษณะของคำที่มักเขียนผิด  รวมทั้งใช้คำและกลุ่มคำสร้างประโยคตรงตามวัตถุประสงค์งานที่ต้องการเขียนได้
ทักษะ :
- ทักษะชีวิต
- ทักษะการคิด
- ทักษะการสื่อสาร
 - ทักษะการเรียนรู้
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน
- สังเคราะห์ข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่ตนเองรับรู้ได้
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น


Week

Input

Process

Output

Outcome


โจทย์ :
ปลาทอง : 1,2
สาระการเรียนรู้
การแต่งเรื่องสั้น

เครื่องมือคิด
 Brainstorms
Show and Share
Round Rubin
Key  Questions




- ครูแนะนำหนังสือที่จะใช้ในสัปดาห์นี้
- นักเรียนเขียนคาดเดาเรื่องราวเกี่ยวกับหนังสือและการวาดภาพประกอบ
- นักเรียนแต่ละคนร่วมแลกเปลี่ยนและนำเสนอ
- นักเรียนอ่าน ปลาทอง ตอนที่1,2
โดยอ่านเสียง (อ่านคนเดียว/อ่านต่อเนื่อง/อ่านพร้อมกัน)หรืออ่านในใจ
- ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง
ครูให้นักเรียนนำตัวละครในเรื่องที่อ่านมาเขียนเรื่องใหม่อย่างน้อย 1 หน้ากระดาษ A 4
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “หลักการเขียนเรื่องสั้นเป็นอย่างไร?
- นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น
- นักเรียนแต่ละคนศึกษาเรื่องหลักการเขียนเรื่องสั้นและบันทึกลงในสมุดบันทึกเล่มเล็ก

ภาระงาน
- การสรุปความเข้าใจเรื่องที่อ่านโดยการเขียนแผนภาพโครงเรื่อง
- การคาดเดาเรื่องราวเกี่ยวกับหนังสือเรื่องปลาทองและการวาดภาพประกอบ
- การนำเสนอเรื่องที่เขียน
- การแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยคข้อความที่ชอบจากเรื่องที่อ่าน
- การนำตัวละครในเรื่องที่อ่านมาเขียนเรื่องใหม่อย่างน้อย 1 หน้ากระดาษ A 4
- การศึกษาหลักการเขียนเรื่องสั้น
ชิ้นงาน
- แผนภาพโครงเรื่อง สรุปความเข้าใจเรื่องปลาทอง : 1,2
 - งานเขียนเรื่องใหม่จากตัวละครเรื่องปลาทอง
- สมุดบันทึกหลักการแต่งเรื่องสั้น
ความรู้ :สามารถอธิบายหลักการแต่งเรื่องสั้น รวมทั้งสามารถผลิตงานเขียนเรื่องสั้นของตนเองได้ ทักษะ :
- ทักษะชีวิต
- ทักษะการคิด
- ทักษะการสื่อสาร
 - ทักษะการเรียนรู้
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน
- สังเคราะห์ข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่ตนเองรับรู้ได้
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น


Week

Input

Process

Output

Outcome


โจทย์ :
ปลาทอง : 3,4
สาระการเรียนรู้
การแต่งเรื่องสั้น (ต่อ)

เครื่องมือคิด
 Brainstorms
Show and Share
Round Rubin
Key  Questions



- นักเรียนอ่าน ปลาทอง ตอนที่3,4
โดยอ่านเสียง (อ่านคนเดียว/อ่านต่อเนื่อง/อ่านพร้อมกัน)หรืออ่านในใจ
- ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง
 - นักเรียนร่วมกันทบทวนเกี่ยวกับหลักการแต่งเรื่องสั้น
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะสามารถผลิตงานเขียนเรื่องสั้นของตนเองได้?
- นักเรียนแต่ละคนสร้างงานเขียนของตนเอง
ภาระงาน
- การพูดอธิบายลักษณะของตัวละคร   แสดงความคิดเห็นและตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
-  การบอกข้อคิดจากเรื่องที่อ่านได้ และสามารถนำข้อคิดไปประยุกต์
ใช้ในชีวิตประจำวันได้
- การสรุปความเข้าใจเรื่องที่อ่านโดยการเขียนแผนภาพโครงเรื่อง
- การศึกษาหลักการเขียนเรื่องสั้น
ชิ้นงาน
- แผนภาพโครงเรื่อง สรุปความเข้าใจเรื่องปลาทอง : 3,4
 - งานเขียนเรื่องสั้น
 - สมุดบันทึกหลักการแต่งเรื่องสั้น
ความรู้ :สามารถอธิบายหลักการแต่งเรื่องสั้น รวมทั้งสามารถผลิตงานเขียนเรื่องสั้นของตนเองได้ ทักษะ :
- ทักษะชีวิต
- ทักษะการคิด
- ทักษะการสื่อสาร
 - ทักษะการเรียนรู้
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน
- สังเคราะห์ข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่ตนเองรับรู้ได้
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น


Week

Input

Process

Output

Outcome


โจทย์ :
สรุปองค์ความรู้ภาษาไทย  Q.2 และนำเสนอ

เครื่องมือคิด
 Brainstorms
Show and Share
Round Rubin
Key  Questions
Mind Mapping

- นักเรียนร่วมกันทบทวนกิจกรรมการเรียนรู้ทั้งหมดที่ผ่านมา
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนจะนำเสนอองค์ความรู้ภาษาไทย  Q.2 สิ่งที่ได้เรียนมาแล้วอย่างไร ?
- นักเรียนแต่ละคนคิดวางแผนงานการสรุปองค์ความรู้สิ่งที่ได้เรียนรู้
- นักเรียนเขียนสรุปองค์ความรู้การเรียนภาษาไทย  Q.2 ในรูปแบบต่างที่ตนสนใจ
( Mind Mapping Flow Chart )
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด  จากการเรียนรู้ภาษาไทยใน Q.2 นักเรียนสามารถทำอะไรได้ดีแล้วบ้าง และอะไรที่นักเรียนต้องพัฒนาเพิ่มเติมอีกบ้าง?
- นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นและเขียนประเมินตนเองเกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองสามารถทำอะไรได้ดีแล้ว และอะไรที่ต้องพัฒนาเกี่ยวกับการเรียนรู้

ภาระงาน
- การเขียนสรุปองค์ความรู้การเรียนภาษาไทย  Q.2  ในรูปแบบต่างที่ตนสนใจ ( Mind Mapping Flow Chart )
-  เขียนสิ่งที่ดีแล้ว-สิ่งที่ควรพัฒนา
- การตอบคำถาม

ชิ้นงาน
- องค์ความรู้การเรียนภาษาไทย  Q.2  ในรูปแบบต่างที่ตนสนใจ
( Mind Mapping Flow Chart )
- งานเขียนสิ่งที่ดีแล้ว-สิ่งที่ควรพัฒนา

ความรู้ : สรุปองค์ความรู้ที่ได้ศึกษาในรูปแบบต่างๆตามความสนใจและสื่อให้ผู้อื่นเข้าใจ สามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ชี้ ให้เห็นคุณค่า แสดงให้เห็น ความเชื่อมโยงสู่ชีวิตจริงได้
ทักษะ :
- ทักษะชีวิต
- ทักษะการคิด
- ทักษะการสื่อสาร
 - ทักษะการเรียนรู้
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน
- สังเคราะห์ข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่ตนเองรับรู้ได้
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น