เป้าหมาย (understanding Goal):

เป้าหมาย : เพื่อให้นักเรียนสามารถใช้ภาษาไทยเพื่อเรียนรู้ ข้อมูล เรียนรู้การลงมือปฏิบัติเรียนรู้ตัวเองและเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้
การจัดการเรียนรู้โดยใช้วรรณกรรม: เพื่อให้นักเรียนเรียนรู้การใช้ภาษาจริงจากการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลแวดล้อม และ การเรียนรู้ผ่านวรรณกรรม เป็นการจำลองชีวิตจริง มีความงดงามทั้งวิถีชีวิตและการใช้ทักษะทางภาษา อีกทั้งจรรโลงใจให้ใคร่ครวญ

Week2

หน่วยการเรียนรู้ : ลูกอีสาน
เป้าหมายรายสัปดาห์ : สามารถคาดเดาหรือคาดคะเนเหตุการณ์ได้อย่างมีเหตุผล อ่านจับใจความสำคัญและถ่ายทอดด้วยการเล่า เขียน บันทึก ให้คนอื่นรับทราบได้ รวมทั้ง อธิบายหลักการใช้ โวหารและภาพพจน์( อุปลักษณ์  ) ในงานเขียน และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้  มีนิสัยรัก การอ่าน มีมารยาทในการ ฟัง พูด และเขียนที่ดี


Week

Input

Process

Output

Outcome

๑๗ ๒๑
..
๒๕๕๘
โจทย์ :
ลูกอีสาน ตอน หาอาหารหน้าแล้ง
สาระการเรียนรู้
โวหาร ภาพพจน์
( อุปลักษณ์  )

Key  Questions
- วิถีชีวิตของคนอีสานเป็นอย่างไร?
- นักเรียนจะนำเสนอวิถีชีวิตของคนอีสานในรูปแบบโวหารภาพพจน์( อุปลักษณ์  )ได้อย่างไร?

 เครื่องมือคิด
 Brainstorms :
ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้อ่านและฟัง
Show and Share : นำเสนอชิ้นงาน ภาพวาดประกอบเรื่องที่อ่าน
Round Rubin : การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นสิ่งที่ได้เรียนรู้จากกิจกรรมต่างๆ



สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
ลูกอีสาน ตอน หาอาหารหน้าแล้ง
- ใบงาน
- ห้องสมุด
- อินเทอร์เน็ต
อังคาร
ชง
นักเรียนอ่าน ลูกอีสาน ตอน หาอาหารหน้าแล้ง
 โดยอ่านเสียง (อ่านคนเดียว/อ่านต่อเนื่อง/อ่านพร้อมกัน)หรืออ่านในใจ
เชื่อม
ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง
จำ : เรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,ฉาก
เข้าใจ : สรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์: วิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละคร ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : สรุปเหตุการณ์เทียบเคียงกับชีวิตจริง
ประเมินค่า:การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
 สร้างสรรค์ : แต่งเรื่องใหม่  แต่งตอนจบใหม่ 
วาดภาพประกอบ  ฉาก การ์ตูน
ใช้
นักเรียนแต่ละคนสรุปความเข้าใจโดยการเขียนแผนภาพโครงเรื่อง
พุธ
ชง
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “ หากพูดถึงวิถีชีวิตของอีสานนักเรียนคิดถึงสิ่งใด?
 เชื่อม
นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น
ชง
ครูให้นักเรียนร่วมกันวิเคราะห์ประโยคต่อไปนี้
#ครูเป็นแม่พิมพ์ของชาติ
#ชาวนาคือกระดูกสันหลังของชาติ
#พ่อแม่คือร่มโพธิ์ร่มไทรของลูก
เชื่อม
ครูและนักเรียนร่วมกันวิเคราะห์เกี่ยวกับประโยคที่ต้องการสื่อความหมาย การใช้คำที่ต้องการเปรียบเทียบ สิ่งหนึ่งเหมือนอีกสิ่งหนึ่งโดยเฉพาะมีคำว่า เป็นและคือ
ชง
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด  “นักเรียนจะนำเสนอวิถีชีวิตของคนอีสานในรูปแบบโวหารภาพพจน์( อุปลักษณ์  )ได้อย่างไร?
เชื่อม
- นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นร่วมกัน
- นักเรียนจับคู่ศึกษาเรื่องคำอุปลักษณ์เพิ่มเติมและบันทึกลงในสมุดบันทึกเล่มเล็ก
พฤหัสบดี
เชื่อม
- นักเรียนแต่ละคู่ร่วมกันแลกเปลี่ยนและนำเสนอข้อมูลที่ศึกษาเกี่ยวกับคำอุปลักษณ์
- ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความสำคัญของคำอุปลักษณ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
ใช้
นักเรียนทำใบงาน
ภาระงาน
- การพูดอธิบายลักษณะของตัวละคร   แสดงความคิดเห็นและตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
-  การบอกข้อคิดจากเรื่องที่อ่านได้ และสามารถนำข้อคิดไปประยุกต์
ใช้ในชีวิตประจำวันได้
- การสรุปความเข้าใจเรื่องที่อ่านโดยเขียนแผนภาพโครงเรื่อง
- การวิเคราะห์ประโยคต่อไปนี้
#ครูเป็นแม่พิมพ์ของชาติ
#ชาวนาคือกระดูกสันหลังของชาติ
#พ่อแม่คือร่มโพธิ์ร่มไทรของลูก
- การจับคู่ศึกษาเรื่องคำอุปลักษณ์
ชิ้นงาน
- แผนภาพโครงเรื่องสรุปความเข้าใจเรื่องลูกอีสาน ตอน หาอาหารหน้าแล้ง
- สมุดบันทึกเล่มเล็ก
- ใบงาน
ความรู้ :สามารถวิเคราะห์และอธิบายหลักการใช้ โวหารและภาพพจน์( คำอุปลักษณ์ ) ในงานเขียน และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้  
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
การเลือกใช้เครื่องมือในการการคิดวิเคราะห์ข้อมูล สร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
ทักษะการคิด
การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับชีวิตประจำวันของตนเองได้ รวมทั้งคิดสร้างสรรค์ชิ้นงานที่แสดงถึงความเข้าใจของตนเองได้
 ทักษะการสื่อสาร
อธิบายเกี่ยวกับความแตกต่างของคำอุปมาอุปไมยและอุปลักษณ์
สามารถเขียนบันทึกโดยใช้คำและกลุ่มคำสร้างประโยคตรงตามวัตถุประสงค์                                               และอ่านจับใจความสำคัญเรื่องที่อ่านแล้วถ่ายทอดด้วยการเล่า เขียน บันทึก ให้คนอื่นรับทราบได้
ทักษะการเรียนรู้
- การวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน
- สังเคราะห์ข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่ตนเองรับรู้ได้
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น







1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์นี้พี่ๆได้ทำกิจกรรมต่อจากสัปดาห์ที่แล้วค่ะ คือศึกษาเรื่องคำอุปมาอุปไมย โดยครูติดบทกลอนบนกระดาน
    สูงระหงทรงเพรียวเรียวรูด งาม ละม้ายคล้าย อูฐกะหลาป๋า
    พิศแต่หัวตลอดเท้าขาวแต่ตา ทั้งสองแก้มกัลยา ดัง ลูกยอ
    คิ้วก่ง เหมือน กงเขาดีดฝ้าย จมูก ละม้ายคล้าย พร้าขอ
    หูกลวงดวงพักตร์หักงอ ลำคอโตตันสั้นกลม
    ( ระเด่นลันได - พระมหามนตรี ( ทรัพย์) แล้วให้พี่ๆร่วมกันอ่านและลองวาดภาพประกอบบทกลอนข้างต้น จากนั้นร่วมกันสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน (คำอุปมา)
    จากนั้นครูให้พี่ศึกษาและทำใบงานเพื่อแสดงถึงความเข้าใจอีกครั้งค่ะ
    คาบต่อมาพี่อ่านลูกอีสาน ตอน หาอาหารหน้าแล้ง เราได้ร่วมกันอภิปรายแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับเรื่องราวที่อ่าน อีกทั้งสัปดาห์ยังเป็นสัปดาห์ห่อข้าวมามาทานที่โรงเรียน พี่ๆจึงอยากทำอาหารกินเอง โดยโจทย์ที่จะให้ทำคือเมนูปลาร้า เพื่อให้สอดคล้องกับวิถีการกินจากเรื่องที่อ่านอีกด้วย พี่ๆเตรียมปลาร้ามาแล้วแบ่งกลุ่มทำอาหารกันค่ะ สนุกมากค่ะ และได้เรียนรู้ทักษะชีวิตอีกด้วยนะคะ

    ตอบลบ