หน่วยการเรียนรู้
: ปลาทอง
เป้าหมายรายสัปดาห์ : สามารถคาดเดาหรือคาดคะเนเหตุการณ์ได้อย่างมีเหตุผล
อ่านจับใจความสำคัญและถ่ายทอดด้วยการเล่า เขียน บันทึก ให้คนอื่นรับทราบได้
รวมทั้งเข้าใจและสามารถอธิบายหลักการแต่งเรื่องสั้น
รวมทั้งสามารถผลิตงานเขียนเรื่องสั้นของตนเองได้ มีนิสัยรัก การอ่าน มีมารยาทในการ
ฟัง พูด และเขียนที่ดี
Week
|
Input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
๗
๒๑ - ๒๕
ก.ย.
๒๕๕๘
|
โจทย์ :
ปลาทอง
: 1,2
สาระการเรียนรู้
การแต่งเรื่องสั้น
Key Questions
- ทำไมเวลา
จึงทำให้เราเข้าใจและมองเห็นสิ่งที่เป็นไปชัดเจนมากขึ้น?
- นักเรียนจะสามารถผลิตงานเขียนเรื่องสั้นของตนเองได้?
Brainstorms :
ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้อ่านและฟัง
Show and Share : นำเสนอชิ้นงาน ภาพวาดประกอบเรื่องที่อ่าน
Round Rubin : การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นสิ่งที่ได้เรียนรู้จากกิจกรรมต่างๆ
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- วรรณกรรมปลาทอง :
1,2
- ห้องสมุด
- อินเทอร์เน็ต
|
อังคาร
เชื่อม
- ครูแนะนำหนังสือที่จะใช้ในสัปดาห์นี้
-
นักเรียนเขียนคาดเดาเรื่องราวเกี่ยวกับหนังสือและการวาดภาพประกอบ
- นักเรียนแต่ละคนร่วมแลกเปลี่ยนและนำเสนอ
พุธ
ชง
นักเรียนอ่าน
ปลาทอง ตอนที่1,2
โดยอ่านเสียง (อ่านคนเดียว/อ่านต่อเนื่อง/อ่านพร้อมกัน)หรืออ่านในใจ
เชื่อม
ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง
จำ : เรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,ฉาก
เข้าใจ :
สรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์: วิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์
ลักษณะนิสัยของตัวละคร ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : สรุปเหตุการณ์เทียบเคียงกับชีวิตจริง
ประเมินค่า:การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่
เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์ :
แต่งเรื่องใหม่ แต่งตอนจบใหม่
วาดภาพประกอบ ฉาก การ์ตูน
ใช้
นักเรียนแต่ละคนสรุปความเข้าใจโดยการเขียนแผนภาพโครงเรื่อง
พฤหัสบดี
ชง
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด
“นักเรียนชอบประโยคข้อความใดจากเรื่องที่อ่าน พร้อมบอกเหตุผลประกอบ?”
เชื่อม
- นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยคข้อความที่ชอบ
ชง
ครูให้นักเรียนนำตัวละครในเรื่องที่อ่านมาเขียนเรื่องใหม่อย่างน้อย
1 หน้ากระดาษ A 4
เชื่อม
ครูและนักเรียนร่วมพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องที่นักเรียนเขียน
พฤหัสบดี
ชง
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด
“หลักการเขียนเรื่องสั้นเป็นอย่างไร?”
เชื่อม
- นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น
- นักเรียนแต่ละคนศึกษาเรื่องหลักการเขียนเรื่องสั้นและบันทึกลงในสมุดบันทึกเล่มเล็ก
|
ภาระงาน
- การพูดอธิบายลักษณะของตัวละคร
แสดงความคิดเห็นและตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
-
การบอกข้อคิดจากเรื่องที่อ่านได้ และสามารถนำข้อคิดไปประยุกต์
ใช้ในชีวิตประจำวันได้
- การสรุปความเข้าใจเรื่องที่อ่านโดยการเขียนแผนภาพโครงเรื่อง
- การคาดเดาเรื่องราวเกี่ยวกับหนังสือเรื่องปลาทองและการวาดภาพประกอบ
- การนำเสนอเรื่องที่เขียน
- การแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยคข้อความที่ชอบจากเรื่องที่อ่าน
- การนำตัวละครในเรื่องที่อ่านมาเขียนเรื่องใหม่อย่างน้อย 1 หน้ากระดาษ A 4
- การศึกษาหลักการเขียนเรื่องสั้น
ชิ้นงาน
- แผนภาพโครงเรื่อง สรุปความเข้าใจเรื่องปลาทอง :
1,2
- งานเขียนเรื่องใหม่จากตัวละครเรื่องปลาทอง
- สมุดบันทึกหลักการแต่งเรื่องสั้น
|
ความรู้ :สามารถอธิบายหลักการแต่งเรื่องสั้น
รวมทั้งสามารถผลิตงานเขียนเรื่องสั้นของตนเองได้ ทักษะ :
ทักษะชีวิต
การเลือกใช้เครื่องมือในการการคิดวิเคราะห์ข้อมูล
สร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
ทักษะการคิด
การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
รวมทั้งคิดสร้างสรรค์ชิ้นงานที่แสดงถึงความเข้าใจของตนเองได้
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายเกี่ยวกับหลักการแต่งเรื่องสั้นรวมทั้งใช้คำและกลุ่มคำสร้างประโยคตรงตามวัตถุประสงค์งานที่ต้องการเขียนได้และอ่านจับใจความสำคัญเรื่องที่อ่านแล้วถ่ายทอดด้วยการเล่า
เขียน บันทึก ให้คนอื่นรับทราบได้
ทักษะการเรียนรู้
- การวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน
-
สังเคราะห์ข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่ตนเองรับรู้ได้
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
|
สัปดาห์นี้คุณครูได้ให้พี่ๆลองเขียนคาดเดาเรื่องปลาทองค่ะ ว่าเรื่องราวน่าจะเป็นอย่างไร จากนั้นให้พี่ๆอ่าน ปลาทอง ตอนที่1,2และเขียนสรุปความเข้าใจในรูปแบบแผนภาพโครงเรื่อง นอกจากนี้คุณครูยังได้นำเรื่องสั้นเรื่องใหม่ของคุณครูใหญ่มาให้พี่อ่านๆทั้งเรื่องของ มีน และหงษ์หยก จากนั้นเราก๋ร่วมพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องราวของเรื่องสั้นทั้งสองเรื่อง ทั้งในส่วนที่เหมือนกันคือความรักในรูปแบบต่างๆและสิ่งที่พี่ๆคิดว่าแตกต่างกันคือ ภาษาและเรื่องราวของบุคคลในเรื่อง แต่คุณครูคิดว่าพี่ๆค่อนข้างเข้าใจเรื่องที่ต้องการสะท้อนให้เห็นค่อนข้างชัดเจนเลยค่ะ
ตอบลบดังนั้นคุณครูจึงลองให้พี่ๆนิยามความรักในรูปแบบของตนเองบ้าง โดยให้พี่ม.2 เขียนเรื่องราวความรักในรูปแบบต่างๆตามความสนใจของตนเอง พี่จะเขียนนำเสนอในรูปแบบใด ซึ่งงานเขียนของแต่ละคนก็น่าสนใจมากค่ะ